1511169_690871487600344_1327161001_nเจ้า Marimo เนี้ยก่อนที่จะเริ่มนิยมเลี้ยงกัน มีเห็นขายบ้างที่สวนจัตุจักร ตามร้านขายกุ้งแคระ ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักเจ้าMarimoก่อนละกัน โดยจะแบ่งไปข้อละกันเพื่อให้ง่ายต่อการอ่าน

1) Marimo คือส่าหร่ายชนิดใด?….จริงแล้วมันเป็นสาหร่ายในกลุ่มเดียวกับสาหร่ายไกบ้านเราเนี้ยแหละ (ที่เค้าเอามาทานกันนั้นแหละ งั้น มาริโมะที่เลี้ยงก็อาจเอามากินได้นะเนี้ย ) หรือชื่อวิทยาศาสตร์ว่า

Cladophora aegagropila var. linnaei (Kützing) Rabenhorst

ซึ่งเป็นสาหร่ายที่เป็นเส้นสายที่แตกแขนงทางด้านข้างประกอบด้วยเซลล์รูปทรงกระบอก เซลล์มีผนังสามชั้น คลอโลพลาสต์เป็นแบบร่างแห พบได้ในแหล่งน้ำจืดและน้ำเค็มทั่วโลก แต่ความพิเศษของ Marimo ที่ทำให้มันดูดี หรือไฮโซมากกว่าสาหร่ายไกบ้านเราก็คือ มันมาจาก ทะเลสาบ Akan ที่ Hokkaidō ในญี่ปุ่น และ มีพบในทะเลสาบ ในไอซ์แลนด์ด้วย ซึ่งมีรูปร่างกลมน่ารัก มีขนปุกปุย จึงทำให้มันมีซื่อเรียกอีกอย่างว่า Lake ball หรือ Cladophora ball นั้นเอง1497684_690872634266896_211509975_n

1530472_690872240933602_2070526393_n

1545569_690872004266959_508753778_n

1545680_690872347600258_1904535362_n

1471793_690872090933617_119850859_n

2) Marimo เกิดขึ้นได้ยังไง?… จากที่ผู้เขียนไปหาข้อมูลมาจากหลายแหล่ง และสอบถามจากท่านอาจารย์ ก็พอจะสรุปได้ว่า เจ้า Marimo ในทะเลสาบเนี้ยเกิดจาก การกระทำของคลื่นที่ค่อยพัดจนจาก Cladophora  กลายเป็นก้อนกลมๆน่ารักอย่าง Marimo นั้นเอง ซึ่งสาหร่าย Cladophora  ในทะเลสาบนั้นจริงๆมีสามรูปแบบการเจริญเติบโต

  • ยึดเกาะกับโขดหิน มักจะพบในด้านที่โดนแสงน้อยของหิน
  • ลอยอิสระเป็นเส้นใยที่เป็นกระจุกเล็กๆ โดยเส้นใยผูกติดกันที่ด้านล่างทะเลสาบที่เต็มไปด้วยโคลน
  • เป็นลูกบอลขนาดใหญ่ที่แน่นขนัดด้วยเส้นใยของสาหร่าย โดยเจริญจากจุดศูนย์กลางออกมาข้างนอก

ซึ่งแบบที่เราเลี้ยงกันก็คือแบบที่เป็นลูกบอลขนาดใหญ่นั้นเองครับ
1512607_690871750933651_73278621_n

1560735_690871794266980_1446641408_n

1491718_690874490933377_1571752807_n

3) แหล่งที่อยู่ของ Marimo ธรรมชาตินั้นเป็นอย่างไร?…แหล่งที่อยู่ของ Marimo ใน ทะเลสาบ Akan ในญี่ปุ่นและ ในทะเลสาบ ในไอซ์แลนด์ ซึ่งอยู่ในสภาพที่มีแสงน้อย ลักษณะ พื้นผิวด้านล่างของทะเลสาบเป็นตะกอน เป็นโคลน ซึ่งอัตราการเติบโตของ Marimo ในธรรมชาตินั้นประมาณ 5 มิลลิเมตรต่อปี  ในทะเลสาบ Akan จะ ขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ได้ถึง 20-30 ซม. ( 8-12 นิ้ว)  ส่วนใน ทะเลสาบMývatn  ในไอซ์แลนด์ มี ความหนาแน่น ของ Marimo มาก ซึ่งจะเติบโต ประมาณ 12 ซมต่อปี ซึ่งเจ้ Marimo จะอยู่ในช่วง ที่ลึก ตั้งแต่ 2-2.5 เมตร ถ้าเรารู้ว่าเจ้า Marimo อยู่ในธรรมชาติอย่างไร ผู้เลี้ยงอาจนำมาปรับใช้ขณะเลี้ยงก็ได้นะครับ
1504563_690872460933580_651887903_n

1517481_690872514266908_1749909249_n

4) สิ่งที่ควรรู้ก่อนเลี้ยง Marimo….. Marimo สามารถเจริญเติบโตได้ในน้ำประปา  ที่อุณหภูมิห้อง(25 ° C)ได้นาน แต่ต้องมีการเปลี่ยนน้ำทุกหนึ่งหรือสองสัปดาห์ (บ่อยครั้งๆนในช่วงฤดูร้อนและไม่ต้องเปลี่ยนมากในฤดูหนาว) เจ้า Marimo สามารถอยู่ในตู้เย็นในสภาพอากาศเย็น (ต่ำกว่า 25 ° C) แต่ไม่รอดนะถ้าเอาไปแช่แข็ง เจ้า Marimo สามารถสังเคราะห์แสงได้จากแสงในห้องปกติ หรือโดนแสงแดดส่องผ่านหน้าต่างได้ เนื่องจาก Marimo ในธรรมชาติอยู่ในสภาพที่มีแสงค่อนข้างน้อย  นอกจากนั้น Marimo สามารถแช่อยู่ในน้ำโซดา(มีคาร์บอนสูง)ซึ่งจะเพิ่มอัตราการสังเคราะห์แสง โดยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงช่วยการเจริญเติบโตของสาหร่าย แต่อาจเป็นอันตรายต่อปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ และในทะเลสาบ Akan รูปแบบเส้นใยของ Marimo จะหนาขึ้นที่น้ำเค็มจัด ที่มาจากน้ำพุธรรมชาติไหลลงไปในทะเลสาบ แต่ถ้าหาก Marimo  สีเขียวเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลสามารถทำให้กลับมาเขียวเหมือนเดิมได้จากการเพิ่มเกลือลงไป ทั้งนี้ ผู้เลี้ยงอาจจะเพิ่มแสง หรือให้ปุ๋ยเพิ่มเติมก็ได้ครับตามความต้องการ
1536639_690871584267001_107722467_n

1558474_690871880933638_846411136_n

1504568_690871944266965_923243973_n

5) Marimo ที่ขายกันทั้งในเน็ตและที่สวนจัตุจักรนั้นเป็นของจริงที่มาจากญี่ปุ่นหรือไม่?….เท่าที่ผู้เขียนพอจะทราบมาทางรัฐบาลของญี่ปุ่น สั่งห้ามนำ Marimo  ขึ้นมาจากทะเลสาบ Akan ในญี่ปุ่น เพราะเกรงว่าเจ้า Marimo ว่า จะสูญพันธุ์หรือเหลือน้อย จึงเก็บไว้ให้เพื่อการศึกษาเท่านั้น ซึ่งจากที่ถามและหาข้อมูลมานั้น เจ้า Marimo ที่เอามาขายในไทยนั้นได้อ้างรับมาจากศูนย์วิจัยที่ญี่ปุ่น ที่มีการเพาะเลี้ยงเพื่อการค้า ซึ่งไม่ต้องกลัวว่าเค้าจะไปเอาสาหร่ายไกมาปั่นๆพันๆเป็นก้อนแล้วเอามาขาย (แต่อันนี้ผู้เขียนก็ไม่รู้นะว่ามีจริงรึเปล่าที่เอามาปั่นๆเนี้ย น่าลองทำดูจัง)

1546234_690875494266610_938040938_n

 

สำหรับใครที่เห็นแล้วรู้สึกชอบก็ลองหาซื้อมาเลี้ยงดูนะครับ แต่เมื่อเลี้ยงแล้วก็เอาใจใส่เค้าด้วยนะครับ ไม่ใช่เบื่อแล้วเอาไปโยนทิ้งลงแหล่งน้ำ 555 ผู้เขียนเกรงว่าตามพื้นคลองบ้านเราจะกลายเป็นแบบทะเลสาบ ทะเลสาบ Akan ในญี่ปุ่น (ล้อเล่น) ถ้าข้อมูลที่หามาผิดพลาดประเด็นใดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ……

http://www.youtube.com/watch?v=gAuYGPsGuZg